ปูกระเบื้องแผ่นใหญ่ ปูอย่างไรให้ถูกวิธี กระเบื้องติดทนนาน

April 27, 2022

กระเบื้องแผ่นใหญ่ เป็นแผ่นกระเบื้องที่มีขนาดใหญ่กว่าแผ่นกระเบื้องทั่ว ๆ ไป โดยกระเบื้องนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นกะเบื้องชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งกระเบื้องเซรามิค กระเบื้องพอร์ซเลน หรือจะเป็นกระเบื้องแกรนิตโต้ก็ได้ แถมยังมีสี และลวดลายให้เลือกอีกมากมายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น กระเบื้องลายหินอ่อน หรือกระเบื้องสีเรียบ ๆ ก็มีให้เลือกหลายสี โดยมีขนาดของกระเบื้องให้เลือกหลายขนาด โดยจะแบ่งได้ดังนี้

- กระเบื้องแผ่นเล็ก ขนาด 20x20 หรือ 30x30 เซนติเมตร

- กระเบื้องแผ่นกลาง ขนาด 40x40 หรือ 30x60 เซนติเมตร 60x60 เซนติเมตร

- กระเบื้องแผ่นใหญ่ ขนาด 80x80 เซนติเมตร หรือ 60x120 เซนติเมตร

- กระเบื้องแผ่นใหญ่พิเศษ ขนาด 120x240, 80x240 หรือ 160x320 เซนติเมตร

ทำไมคนนิยมเลือกปูกระเบื้องแผ่นใหญ่?

เมื่อก่อนการปูกระเบื้องจะนิยมใช้กระเบื้องขนาด 8x8 นิ้ว หรือจะเป็นขนาด 12x12 นิ้ว หรือขนาดใหญ่ที่สุดอาจจะเป็น 60x60 นิ้ว แต่ในปัจจุบันความนิยมเปลี่ยนไป โดยเปลี่ยนเป็นการปูกระเบื้องแผ่นใหญ่ที่เริ่มจะได้รับความนิยมแทน เนื่องจากการปูพื้นด้วยกระเบื้องปูพื้นแผ่นใหญ่จะทำให้พื้นที่ตรงนั้นมีรอยต่อของกระเบื้องน้อยมาก ส่งผลให้พื้น หรือผนังบริเวณนั้นดูสวยงามกว่าการปูกระเบื้องปกติ

ปูกระเบื้องแผ่นใหญ่เป็นอย่างไร มีข้อดีอะไรบ้าง?

ต้องบอกว่าการใช้กระเบื้องแผ่นใหญ่มาปูพื้นผลลัพธ์หลัก ๆ ที่จะเห็นได้ชัดหลัก ๆ นั่นก็คือ ห้องหรือพื้นที่บริเวณนั้นจะดูสวยงามกว่าพื้นที่ที่ปูด้วยกระเบื้องปูพื้นขนาดเล็กกว่า และนอกจากความสวยของรอยต่อกระเบื้องที่น้อยลงแล้ว การปูกระเบื้องแผ่นใหญ่ก็ยังมีข้อดีอื่น ๆ ที่เราอาจจะยังไม่รู้อีกด้วย

- กระเบื้องจะเป็นเนื้อเดียวกันทั้งแผ่น และนอกจากกระเบื้องจะดูเป็นเนื้อเดียวกันทั้งแผ่นแล้ว การปูกระเบื้องแผ่นใหญ่ยังมองเห็นรอยขีดข่วนได้ยากอีกด้วย

- การปูกระเบื้องแบบแผ่นใหญ่จะมีลวดลายที่สวย และมีความกลมกลืนมากกว่าการปูกระเบื้องทั่ว ๆ ไป เพราะลายของกระเบื้องจะดูต่อเนื่องกันเรียงสวยกันอย่างสวยงาม

- สามารถดูแลรักษาและทำความสะอาดได้ง่าย เนื่องจากกระเบื้องมีรอยต่อน้อย ครบหรือฝุ่นที่ไปฝังอยู่ในคราบก็จะไม่ค่อยมี ง่ายต่อการทำความสะอาด

ปัญหาของการปูกระเบื้องแผ่นใหญ่

ในการปูกระเบื้องแผ่นใหญ่จะมีปัญหาต่าง ๆ เช่น กระเบื้องหลุดล่อน กระเบื้องโก่งตัว ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจจะมาจากสาเหตุที่ต่างกัน โดยมีสาเหตุดังนี้

กระเบื้องมีขนาดใหญ่ ดูดซึมน้ำได้ต่ำ

โดยทั่วไปแล้ว กระเบื้องที่มีการดูดซึมน้ำดี จะมีรูพรุน กาวซีเมนต์จะสามารถแทรกซึมเข้าไปตามรูพรุนของกระเบื้องแล้วเกิดการยึดเกาะขึ้น โดยการยึดเกาะแบบนี้จะเรียกว่า การยึดเกาะทางกล

แต่สำหรับในกระเบื้องบางประเภท เช่น กระเบื้องขนาดใหญ่ หรือกระเบื้องแกรนิตโต้ จะเป็นกระเบื้องที่มีเนื้อแน่น ไม่มีรูพรุน หรืออาจจะมีแต่น้อยมาก การดูดซึมน้ำก็จะต่ำ กาวซีเมนต์ธรรมดาจึงไม่สามารถแทรกซึมเข้าไปตามรูพรุนของกระเบื้องชนิดนี้ได้ ทำให้ไม่สามารถสร้างการยึดเกาะได้ ส่งผลห้เนื้อซีเมนต์ไม่เกาะติดที่ผิวกระเบื้อง และเมื่อซีเมนต์แห้งตัว กระเบื้องก็จะไม่สามารถติดได้

ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยการยึดเกาะทางเคมีเข้ามาช่วย โดยต้องเลือกกาวที่มีส่วนผสมของสารโพลีเมอร์ ซึ่งจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะที่ผิวกระเบื้องได้ดีขึ้น

การปูกระเบื้องที่ผิดวิธี

การปูกระเบื้องแบบซาลาเปา เป็นการนำปูนมาโปะบริเวณตรงกลางของหลังกระเบื้อง ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ช่างส่วนใหญ่จะนิยม เพราะเป็นวิธีที่ทั้งสะดวก รวดเร็ว และไม่เลอะเทอะ แต่รู้หรือไม่ว่าการทำแบบนี้จะส่งผลให้กระเบื้องหลุดร่อน โก่งตัว หรือระเบิดได้ เพราะการทำวิธีนี้เนื้อปูนจะไม่กระจายตัวทั่วทั้งแผ่น และส่งผลให้เกิดโพรง หรือช่องว่างใต้กระเบื้อง

และยังมีอีกหนึ่งวิธีที่เป็นวิธีที่ผิดคือ การปูกระเบื้องแบบกึ่งเปียก ซึ่งวิธีนี้จะทำโดยการนำปูนซีเมนต์ผง มาผสมกับทราย และน้ำ ในอัตราส่วนผสมที่เหมาะสม วิธีนี้จะทำให้กระเบื้องมีโอกาสหลุดร่อนลงมาได้สูง เพราะเนื่่องจากกระเบื้องไม่มีรูพรุน หรือมีน้อย ซีเมนต์ธรรมดาไม่สามารถแทรกซึมเข้าไปในกระเบื้องได้

การปูกระเบื้องแบบไม่เว้นร่องยาแนว หรือเว้นร่องยาแนวเล็กเกินไป

การปูกระเบื้องขนาดใหญ่ ถ้าจะให้สวยต้องปูแบบชิดชนแผ่น ร่องกระเบื้องเล็ก แต่จริง ๆ แล้ว กระเบื้องนั้นสามารถหด และขยายตัวเองได้ตามสภาพของอากาศที่เปลี่ยนไป เพราะอย่างนั้นกระเบื้องที่ปูชิดติดกันโดยไม่มีการเว้นร่องยาแนว เมื่อถึงเวลาที่กระเบื้องขยายตัว จะส่งผลให้กระเบื้องดันชนกันจนโก่ง หรือระเบิดแตกออกมาได้

จะปูกระเบื้องแผ่นใหญ่ด้วยวิธีไหนดี?

เนื่องจากกระเบื้องแผ่นใหญ่เป็นกระเบื้องปูพื้นที่มีน้ำหนักค่อนข้างมาก ดังนั้นการเลือกวิธีเลือกการปูก็ต้องแตกต่างกับการปูกระเบื้องทั่ว ๆ ไป เพื่อกันไม่ให้กระเบื้องเกิดปัญหากระเบื้องโก่งตัว กระเบื้องระเบิด หรือหลุดล่อนออกไป โดยเฉพาะกระเบื้องที่ปูบนผนังจะมีโอกาสหลุดง่ายมากกว่า ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการปูพื้นแบบซาลาเปา ซึ่งเป็นการปูแบบโป๊ะปูนซีเมนต์เป็นก้อนตามมุมกระเบื้อง ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เกิดช่องว่างที่ด้านหลังของแผ่นกระเบื้อง และจะส่งผลให้ความชื้นเข้าไปสะสมตัวได้ง่าย จนทำให้เกิดการโก่งตัว หรือหลุดล่อนออกในเวลาต่อมา

วิธีที่แนะนำที่เหมาะสมกับการปูกระเบื้องแผ่นใหญ่ควรจะหาช่างที่มีความชำนาญและใช้วิธีปูกระเบื้องด้วยกาวซีเมนต์ หรือปูนกาว ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ได้พื้น และผนังกระเบื้องที่มีคุณภาพมากกว่าวิธีอื่น ๆ หรือสำหรับกระเบื้องแผ่นใหญ่มากๆ อาจจะต้องใช้วิธีการปูแบบแห้ง คือการใช้โครงเหล็กเข้ามาช่วยเลย

เทคนิคปูกระเบื้องแผ่นใหญ่

การปูกระเบื้องแผ่นใหญ่ให้ออกมามีคุณภาพที่ดี จริง ๆ แล้วไม่ได้มีขั้นตอนการทำที่ยาก หรือซับซ้อนอะไรมากมายนัก แค่เพียงต้องใส่ใจในทุกขั้นตอน ทุกกระบวนการที่ทำ

โดยขั้นตอนจะเริ่มจากการจัดระดับ เตรียมปรับระดับพื้น และหลังจากนั้นก็จะเริ่มปูด้วยกาวซีเมนต์ที่นำมาใช้ปูกระเบื้องโดยเฉพาะ และหลังจากที่ทำการปูกาวซีเมนต์เรียบร้อยแล้วก็จะใช้ปูนกาวปาดลงไป โดยปาดลงไปทั้งหมด 2 ตำแหน่ง คือ ปาดลงบนพื้น หรือผนังบริเวณที่ต้องการจะปู และอีกที่จะปาดลงไปด้านหลังกระเบื้อง ซึ่งการที่มีปูนอยู่ทั้งสองตำแหน่ง เมื่อเราวางกระเบื้องลงไป กระเบื้องจะเกิดการดูดกันกับพื้นหรือผนัง ทำให้เกิดการยึดเกาะที่เหนียวแน่นแน่นอน

ก่อนปูกระเบื้องต้องเตรียมอะไรบ้าง?

ก่อนที่เราจะเริ่มการปูกระเบื้อง เราก็ต้องมีการเตรียมอุปกรณ์ และนอกจากนี้ยังต้องเตรียมพื้นผิวบริเวณที่จะปูด้วย โดยจะมีวิธีดังนี้

- พื้นที่ หรือบริเวณที่จะปูกระเบื้องลงไปนั้นต้องแห้ง สะอาด พื้นผิวต้องเรียบ แข็ง และมีระดับของพื้นผิวที่เสมอกัน ซึ่งการเตรียมพื้นผิวให้ให้มีความพร้อมนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะถ้าพื้นผิวบริเวณนั้นไม่พร้อมต่อการปูกระเบื้อง จะส่งผลให้อายุของการใช้งานนั้นมีโอกาสที่จะลดลงได้ หรืออาจจะเกิดเหตุการณืกระเบื้องแตก ระเบิด หรือกระเบื้องอาจหลุดล่อนได้ง่าย

- ในส่วนขั้นตอนการเตรียมกระเบื้อง ควรจะทำความสะอาดกระเบื้องให้สะอาด ไม่มีเศษปูน ทราย หรือฝุ่นละอองต่าง ๆ มาเกาะ และสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งก็คือ ห้ามนำกระเบื้องไปแช่น้ำ หรือห้ามทำให้กระเบื้องปูพื้นเปียกเด็ดขาด เพราะถ้ากระเบื้องเปียกจะส่งผลให้การยึดเกาะของกาวซีเมนต์ลดลงได้ ดังนั้นก่อนจะนำกระเบื้องไปใช้ควรตรวจสอบกระเบื้องก่อน ถ้ากระเบื้องเปียกต้องนำไปผึ่ง หรือตากให้กระเบื้องแห้งก่อนแล้วค่อยนำมาใช้

ขั้นตอนปูกระเบื้องแผ่นใหญ่ พร้อมอธิบายรายละเอียด

ในการปูกระเบื้องแผ่นใหญ่ วิธีการปูก็จะมีความแตกต่างออกไปจากการปูกระเบื้องแผ่นขนาดปกติทั่วไป ซึ่งวิธีการปูกระเบื้องจะมีดังนี้

ขั้นตอนการผสมการซีเมนต์

โดยการเทน้ำสะอาดลงไปในถังปริมาณ 1 ส่วน จากนั้นให้ใส่กาวซีเมนต์ตามลงไปในปริมาณ 3 ส่วน และกวนทั้งสองอย่างไปเรื่อย ๆ ให้เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียว หลังจากที่กาวและน้ำเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว ให้ทิ้งไว้ประมาณ 3 - 4 นาที และการใช้กาวซีเมนต์ควรใช้กาวที่ผ่านการผสมแล้วใช้ให้หมดภายใน 4 ชั่วโมง

ขั้นตอนปูกระเบื้อง

จะขอแนะนำให้ใช้เกรียงหวีปูกระเบื้องแทนการใช้เกรียงใบโพธิ์ เพราะการใช้เกรียงหวีลากลงไป จะได้ปริมาณความหนาของกาวซีเมนต์ที่เท่ากัน สม่ำเสมอมากกว่าและจะทำให้ประสิทธิภาพในการยึดติดระหว่างพื้นกับกระเบื้องนั้นดีกว่าการใช้เกรียงใบโพธิ์ ซึ่งจะส่งผลให้อายุใช้งานของกระเบื้องยาวนานขึ้น ไม่หลุดล่อนออกมาง่าย

โดยการปาดกาวลงไป เราขอแนะนำให้ลากเกรียงหวีโดยหันด้านซี่ออกเพื่อปาดกาวซีเมนต์ออกเป็นทางยาวบนผนัง หรือพื้นที่ต้องการปูกระเบื้อง คุณควรจะเลือกหวีให้เหมาะสมกับกระเบื้องที่คุณใช้ เช่น เกรียงหวี U9 จะเหมาะกับกระเบื้องที่มีขนาดกลาง ไปจนถึงขนาดใหญ่ แค่คุณเลือกขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งาน ปริมาณของกาวซีเมนต์ที่เกลี่ยก็จะสามารถทั่วถึงได้ง่ายขึ้น

หลังจากที่ปาดลงบริเวณผื้นหรือผนังเสร็จแล้ว ก็มาปาดลงหลังกระเบื้องต่อโดยหันด้านเรียบของเกรียงหวีปาดกาวซีเมนต์ลงบนหลังกระเบื้องให้ทั่วทั้งแผ่น แนะนำว่าควรเลือกใช้ความหนาของกาวซีเมนต์ โดยจะมีความหนาอยู่ที่ประมาณ 2 - 10 มิลลิเมตร โดยความหนาของกาวซีเมนต์ด้านหลังกระเบื้องที่ใช้ จะขึ้นอยู่กับขนาดของกระเบื้องที่ใช้ ยิ่งกระเบื้องนั้นมีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมาก ก็ยิ่งควรจะปาดกาวซีเมนต์ลงไปให้หนาตามไปด้วย

ขั้นตอนจัดแนวกระเบื้อง

หลังจากที่ได้ลงกาวซีเมนต์เรียบร้อยแล้ว ก็ควรจะจัดแต่งกระเบื้อง ก่อนกาวซีเมนต์จะแห้ง โดยกาวซีเมนต์แต่ละแบบจะมีระยะเวลาการแห้งของกาวที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเราควรเลือกดี ๆ หลังจากที่ปูกระเบื้องลงไปเสร็จเรียบร้อยหมดแล้ว ถ้าหากต้องการให้ร่องยาแนวดูเป็นระเบียบเรียบร้อย มีความเท่ากัน เราแนะนำว่าให้ใช้สเปซเซอร์เป็นตัวช่วยในการปูกระเบื้อง และถ้าหากพบว่ามีกาวซีเมนต์เลอะอยู่บนแผ่นกระเบื้อง ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ให้รีบเช็ดออกทันทีด้วยฟองน้ำ เพราะถ้าหากปล่อยไว้นานเกินไป คราบนั้นจะกำจัดออกได้ค่อนข้างยาก

เมื่อคุณได้ทำการปูกระเบื้องเสร็จหมดแล้ว รวมถึงจัดระดับ และระนาบของกระเบื้องได้ดีแล้ว ควรปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง 24 ชั่วโมง

ในส่วนของการเลือกยาแนว ขอแนะนำให้เลือกสีของยาแนวให้มีสีที่ใกล้เคียงกับสีของกระเบื้องมากที่สุดเพื่อความกลมกลืนกันระหว่างยาแนว และกระเบื้อง แต่ถ้าหากใครที่ต้องการจะโชว์ลลายตัดขอบกระเบื้อง ให้เลือกสียาแนวที่ตัดกับสีของกระเบื้องไปเลย

ข้อควรระวังในการปูกระเบื้องแผ่นใหญ่

ในการปูกระเบื้องแผ่นใหญ่ ถึงจะมีขั้นตอนและวิธีการปูที่ไม่ได้เยอะ และยุ่งยากมากนักเท่าไหร่ แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีข้อควรระวังในการปู นั่นคือ

- หลังจากที่ใช้เกรียงหวีปาดกาวลงบนหลังกระเบื้องเสร็จแล้ว ควรจะตรวจสอบให้แน่ใจว่าทาทั่วแผ่นกระเบื้องแล้ว และไม่มีโพรงอากาศเหลืออยู่หลังจากปูกระเบื้องเสร็จ

- ร่องยาแนวจะต้องมีความกว้างระหว่างกระเบื้องอยู่ที่ประมาณ 1 - 2 มิลลิเมตร และเมื่อยาแนวเต็มร่องแล้วก็ควรล้างทำความสะอาดให้สวยงาม

สรุปเทคนิคปูกระเบื้องแผ่นใหญ่ที่ทำตามได้

ขั้นตอนในการปูกระเบื้องแผ่นใหญ่ไม่ได้มีขั้นตอนที่ยาก หรือซับซ้อนอะไรมากนัก แค่เราต้องใส่ใจกับทุกรายละเอียด และทุกขั้นตอนในการปู เพื่อที่จะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด รวมไปถึงการเลือกกระเบื้องให้เหมาะสมกับสถานที่ที่จะปู และเลือกอุปกรณ์ที่จะใช้เป็นตัวช่วยในการปู เช่น กาวซีเมนต์ ยาแนว ควรจะเลือกของที่มีคุณภาพที่ดี กระเบื้องจะได้อยู่ติด ทน นาน ไปกับเราได้มากที่สุด

ทำไมต้องเลือกกระเบื้องปูพื้นแผ่นใหญ่ของ Adecor?

Adecor เป็นศูนย์รวมกระเบื้องมากมาย ที่ได้มาตรฐาน มีกระเบื้องให้เลือกมากมายหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องแผ่นเล็ก หรือกระเบื้องแผ่นใหญ่เราก็มีให้เลือก เราพร้อมให้คำแนะนำทุกท่านที่สนใจ

สนใจดูผลิตภัณฑ์กระเบื้องอื่นๆ ของ Adecor ทำอย่างไร?

สำหรับท่านใดที่สนใจกระเบื้องเซรามิค หรือกระเบื้องปูพื้นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กระเบื้องลายหินอ่อน กระเบื้องแกรนิตโต้ หรือกระเบื้องประเภทต่าง ๆ ทั้งขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ ของ Adecor สามารถรับชมสินค้าได้ทางเว็บไซต์ของทาง Adecor ได้เลยครับที่ https://www.adecor.co.th/

เราพร้อมบริการแบบ One stop service ศูนย์รวมกระเบื้องทุกแบบ ทุกลาย พร้อม ให้คำปรึกษา และติดต่อช่างติดตั้ง ที่เดียวครบ จบเรื่องงานกระเบื้อง

Want more information?

Please leave us a message or chat with us via Line